top of page

การออกแบบขนาดติดตั้งโซล่าเซลล์

  • รูปภาพนักเขียน: Solartech Solartech
    Solartech Solartech
  • 18 พ.ย. 2567
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 2 ม.ค.

การออกแบบขนาดของระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้าน


ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง


เจ้าของบ้านควรพิจารณาว่าจะใช้เซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างเพื่อจะได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ได้เพียงพอกับความต้องการและไม่ติดตั้งมากเกินความจำเป็น


ตัวอย่างที่ 1 บ้านหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าและชั่วโมงของการใช้งานดังนี้



**จากตารางข้างต้นนี้ได้ข้อมูลในหนึ่งวันบ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้า 6,760 วัตต์-ชั่วโมง กำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง (Pcell) คำนวนได้ง่าย ๆ จากสูตรดังต่อไปนี้



Pcell = Pl/(QxAxBxC/D)



โดยที่ Pl : ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในหนึ่งวัน


Q : พลังงานแสงอาทิตย์ในหนึ่งวัน (วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร) สำหรับประเทศไทยเท่ากับ 4,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตรโดยประมาณ


A : ค่าชดเชยการสูญเสียของเซลล์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.8


B : ค่าชดเชยความสูญเสียเชิงความร้อน โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85


C : ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85 –0.9


D : ความเข้มแสงปกติ = 1,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร


เพราะฉะนั้น บ้านหลังนี้ต้องใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ให้กำลังไฟฟ้าเท่ากับ


Pcell = (6,760/4,000x0.8x0.85x0.85/1,000) = 2,923 W หรือประมาณ 2.9 kW



ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์

 

  • จำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์คำนวณได้โดยใช้กำลังไฟฟ้าของระบบ

  • หารด้วยกำลังไฟฟ้าที่เซลล์หนึ่งแผงที่ผลิตได้ เมื่อทราบค่าจำนวนแผงแล้ว

  • ขั้นตอนต่อไปคือจะต้องคำนวณว่าจะต้องนำเซลล์มาต่ออนุกรมหรือขนานกันอย่างไร

  • จึงจะได้แรงดันไฟฟ้าทื่เพียงพอต่อการใช้งานจำนวนแผงเซลล์ที่จะต้องต่ออนุกรมกันหาได้

  • โดยการใช้ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการหารด้วยแรงดันเอาต์พุตของหนึ่งแผง

 

ตัวอย่างที่ 2 


จากตัวอย่างที่หนึ่งทราบว่าจะต้องติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เท่ากับ 2.9 kW และแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ต้องป้อนให้อินเวอร์เตอร์คือ 200 v ถามว่าจะต้องใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์กี่แผงและจะต้องต่อเรียงกันอย่างไร โดยสมมุติว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีสเปกดังนี้ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 50 วัตต์ (W) แรงดันไฟฟ้าสูงสุด 17 โวลต์ (V) กระแสไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 2.94 แอมแปร์ (A) แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิด 21.3 โวลต์ (V) และกระแสไฟฟ้าลัดวงจร 3.15 แอมแปร์ (A)

 


วิธีพิจารณา


ประมาณการเริ่มแรกของจำนวนของแผงเซลล์ที่ต้องติดตั้งทั้งหมด

= 2,900 (W) / 50  (W)  =  58 แผง


จำนวนของแผงเซลล์ที่ต่ออนุกรม 

=  200(V) / 17(V)   =12แผง(ปัดเศษขึ้น)


จำนวนแผงที่ต้องต่อขนาน

= 58 / 12   = 5 แถว (ปัดเศษขึ้น)


ดังนั้นกรณีบ้านหลังนี้จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด

= 12 x 5 = 60 แผง


โดยต่ออนุกรมแถวละ 12 แผงและต่อขนาน จำนวน 5 แถว


---


#โซลาร์เซลล์ #พลังงานแสงอาทิตย์ #พลังงานสะอาด #solarcell #Solar #โซล่าเซลล์ #solarcell #โซล่าเซลล์ลดค่าไฟ #solarrooftop #ไฟฟ้า #วิศวะ #engineer #ประหยัดไฟ #ผ่อนโซล่าเซลล์ #SLC #Solartech #Solartechcenter #ongrid #offgrid #hybrid #บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ #ติดตั้งโซล่าเซลล์ราคาถูก

 
 
 

Comments


Commenting on this post isn't available anymore. Contact the site owner for more info.

ศูนย์จำหน่าย ติดตั้งโซล่าเซลล์ ราคาถูก แบบครบวงจร

อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ ติดตั้งอย่างเป็นมาตรฐานด้วย

ทีมงานมืออาชีพ 

logo

ศูนย์จำหน่าย ติดตั้งโซล่าเซลล์ ราคาถูก แบบครบวงจร

อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ ติดตั้งอย่างเป็นมาตรฐานด้วย

ทีมงานมืออาชีพ 

ติดต่อเรา

📞: 082-414-1144 Call Center 
📞: 093-946-6944 Solar Day 
📞: 093-285-9654 Solar Night 
📞: 065-294-1539 Solar Shopping 

  • Line
  • Facebook
  • TikTok
  • YouTube

ที่อยู่

บริษัท โซล่าเทคเซ็นเตอร์ จำกัด

สำนักงานใหญ่ :

166 ม.1 ต.บ้านโคก อ.หนองนาคำ จ.ขอนแก่น 40150 

สาขาขอนแก่น :

161/6 ถ.กลางเมือง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 

bottom of page