เทคนิคการติดตั้งอุปกรณ์ MOUNTING
- Solartech Solartech
- 19 พ.ย. 2567
- ยาว 2 นาที
อัปเดตเมื่อ 6 ธ.ค. 2567
เทคนิคการติดตั้งอุปกรณ์ MOUNTING บนหลังคา แต่ละประเภท และโครงสร้าง จะมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ไปดูกันเลย

Rail : เป็นรางสำหรับรับแรงจาก แผงโซล่าเซลล์
Ground Lug : ใช้ยึดล็อกสายกราวด์เข้ากับราง
L-feet : ใช้ยึดล็อกรางเข้ากับโครงสร้างอาคาร
Rail Join : ใช้สำหรับต่อรางระหว่าง 2 ท่อนเข้าด้วยกัน
Mid-Clamp : ใช้ยึดล็อกแผงโซล่าเซลล์เข้ากับราง สำหรับแผงระหว่างแผง
Ground Plate : ใช้ประสานศักย์ไฟฟ้า ระหว่างโครงแผงโซล่าเซลล์เข้ากับตัวราง
End-Clamp : ใช้ยึดล็อกแผงโซล่าเซลล์เข้ากับราง สำหรับแผงสุดท้ายของแถว
Cable Clip : ใช้สำหรับเก็บสาย PV เข้ากับขอบแผงโซล่าเซลล์
ประเภทหลังคาส่วนใหญ่ในประเทศไทย
หลังคา Metal sheet
หลังคา CPAC
หลังคา Prestige
หลังคา Neustile / Excella รุ่นเกรซและโมเดิร์น
หลังคา ลอนคู่ / ไตรลอน
หลังคา Shingle roof
พื้นดาดฟ้าคอนกรีต
เทคนิคติดตั้ง mounting บนหลังคาแต่ละประเภท
1.หลังคา Metal sheet

L feet Metal sheet จะถูกยิงลงบนแป ผ่านสันลอนหลังคา
Tip : เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมควรหยอด PU ในรูสกรูเข้าไปด้วย
2.หลังคา CPAC

L feet แบบT จะถูกยิงลงบนจันทัน โดยการสไลด์กระเบื้องในตำแหน่งที่ไม่ได้ยิงสกูบน
Tip : เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมควรเจียกระเบื้องและ หยอด PU ด้านข้างด้วย
3.หลังคา Prestige

L feet แบบT และแบบตรง จะถูกยิงลงบนจันทัน โดยการสไลด์กระเบื้องในตำแหน่งที่ไม่ได้ยิงสกูบน คล้าย CPAC
กระเบื้อง Prestige ที่ใช้ร่วมกันแปสูงจะสามารถใช้ L feet แบบ T ได้ ซึ่งจะสามารถสไลด์ซ้ายขวาได้ หลบรอยต่อกระเบื้องได้
กระเบื้อง Prestige ที่ใช้ร่วมกันแปเตี้ย จะต้องใช้ L feet แบบตรงเท่านั้น ซึ่งข้อดีคือมีความยาว สามารถสไลด์ลงปิดกระเบื้องได้สุด
4.หลังคา Neustile / Excella รุ่นเกรซ/โมเดิร์น

L feet แบบT และแบบตรง จะถูกยิงลงบนจันทัน โดยการสไลด์กระเบื้องในตำแหน่งที่ไม่ได้ยิงสกูบน คล้าย Prestige
Neustile ที่ใช้ L feet แบบตรง แต่ยิงสกูใส่จันทันผ่านกระเบื้อง
Excella ที่ใช้ L feet แบบตรง แต่ยิงสกูใส่จันทัน โดยเสริมราง C หนุน
Excella ที่ใช้ L feet แบบ T แต่ยิงสกูใส่จันทันผ่าน บอร์ดกันความร้อย
5.หลังคา ลอนคู่ / ไตรลอน

L feet ลอนคู่ จะถูกยิงลงบนแปป คล้ายกับ metal sheet แต่จะมีความยาว ในการเจาะ ซึ่งต้องระวังไม่ให้กระเบื้องแตก
6.หลังคา Shingle roof

L feet Shingle roof จะถูกยิงลงบนไม้บอร์ด โดยการสอดแผงเพลตของชุด mounting เข้าไปใต้ แผ่น shingle roof เล็กน้อย ในตำแหน่งด้านบน และต้องหยอด PU ทั้ง 4 ด้าน
Tip : เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมหยอด PU ทั้ง 4 ด้าน
7.พื้นดาดฟ้าคอนกรีต

นิยมทำลูกปูน support อาจเป็นลักษณะดังนี้
1. ลูกปูนวางกับพื้น
2. ยึดกับพื้นด้วยสตัด แล้วเปปูนทำเป็นลูกปูน
3. ยึดกับพื้นด้วยเพลท support พร้อมเสา แล้วทำเป็นลูกปูนทับ
L feet สามารถใช้เป็น ชุดขาปรับระดับสำเร็จรูป ซึ่งจะติดตั้งง่าย เร็ว ไม่มีปัญหาสนิม สามารถปรับองศาไปตามต้องการ
หรือเป็นงานเชื่อมชุดโครงรับแผง ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องคำนึงถึง ขนาดเหล็ก ความสูง และ ระยะสะแปลน ตามที่วิศวกรโยธากำหนด
Tip : เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมกับดาดฟ้านั้น ควรมีการปรับปรุงกันซึมพื้นร่วมด้าน
หากไม่ปรับปรุงในอนาคตถ้าพื้นมีปัญหา การแก้ไขจะทำได้ยาก
การออกแบบโครงรับแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ : ใช้เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง
แป : ใช้สำหรับรับแรงจากแผงและยึดติดอุปกรณ์จับยึด ซึ่งจะมี 2 เส้นด้านหน้า และหลัง
จันทัน : ใช้สำหรับรับแรงจากแปทั้ง 2 เส้น เพื่อถ่ายแรงสู่เสาต่อไป
เสา : ใช้สำหรับถ่ายแรงทั้งหมดลงพื้น โดยจะมีต้นด้านหน้าและหลัง ซึ่งระยะ spend และ ขนาดของเสานั้น ต้องเหมาะสม ควรต้องพิจารณาโดยวิศวกรโยธาเป็นผู้กำหนด
กันโครง : เสริมโครงสร้างเพื่อป้องกันการโยก
ตอหม้อ : เป็นตำแหน่งรับแรงที่พื้น โดยการเทซีเมนต์ลงหลุมลึกไม่น้อยกว่า 50 cm เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

โครงรับแผงโซล่าเซลล์





#โซลาร์เซลล์ #พลังงานแสงอาทิตย์ #พลังงานสะอาด #solarcell #Solar #โซล่าเซลล์ #solarcell #โซล่าเซลล์ลดค่าไฟ #solarrooftop #ไฟฟ้า #วิศวะ #engineer #ประหยัดไฟ #ผ่อนโซล่าเซลล์ #SLC #Solartech #Solartechcenter #โซล่า #ongrid #offgrid #hybrid #roof #mounting #Metalsheet #CPAC #Prestige #Neustile #Excella #ลอนคู่ #ไตรลอน #Shingleroof #ดาดฟ้า #อุปกรณ์จับยึด
Comments